PromptPay (พร้อมต์เพย์) เป็นระบบ E-Payment ภายใต้นโยบาย National e-Payment ของรัฐบาล ที่ช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ระบบนี้เริ่มแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ สังเกตได้จากเวลาซื้อของออนไลน์ ร้านค้าส่วนใหญ่มักให้โอนเงินเข้ามาที่บัญชี PromptPay กันมากขึ้น แต่หลายคนก็อาจยังไม่สมัคร PromptPay และไม่เข้าใจว่าระบบนี้คืออะไรกันแน่ ซึ่งมีรายละเอียด ค่าธรรมเนียม และวิธีการสมัครดังนี้
PromptPay คืออะไร?
PromptPay (พร้อมต์เพย์) เดิมมีชื่อว่า AnyID คือ ระบบการทำธุรกรรมแบบ E-Payment ที่ผูกบัญชีเงินฝากไว้กับหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือเลขบัตรประชาชน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาจำเลขบัญชีที่ยาวและจำยาก โดยเกิดจากความร่วมมือระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย
ผู้ให้บริการ PromptPay คือธนาคารพาณิชย์ 15 แห่ง เช่น ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพ และธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ทำให้การทำธุรกรรม ไม่ว่าโอนเงินหรือใช้จ่ายซื้อของสามารถทำได้ง่ายขึ้น สามารถทำรายการผ่าน Mobile Banking (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Mobile Banking) หรือตู้ ATM ก็ได้
การใช้งาน PromptPay ในบัญชีเงินฝากของเราหนึ่งบัญชี สามารถผูกหมายเลขโทรศัพท์ไว้กี่เบอร์ก็ได้ การโอนเงินสามารถทำได้ง่ายเพียงบอกหมายเลขโทรศัพท์ ส่วนบัญชีเงินฝากที่ผูกไว้กับหมายเลขบัตรประชาชน สามารถใช้รับเงินคืนภาษี สวัสดิการต่างๆ ของรัฐได้เลย
ค่าธรรมเนียม PromptPay
ค่าธรรมเนียมการโอนเงินระหว่างบุคคล ดังนี้
- โอนเงินครั้งละไม่เกิน 5,000 บาท ไม่มีค่าธรรมเนียมการโอน
- มากกว่า 5,000 ถึง 30,000 มาก มีค่าธรรมเนียม 2 บาท
- มากกว่า 30,000 ถึง 100,000 มีค่าธรรมเนียม 5 บาท
- 100,000 บาทขึ้นไป มีค่าธรรมเนียม 10 บาท
ค่าธรรมเนียมการโอนระหว่างนิติบุคคล ดังนี้
- ไม่เกิน 100,000 บาท มีค่าธรรมเนียม ไม่เกิน 10 บาท
- เกิน 100,000 บาท มีค่าธรรมเนียม ไม่เกิน 15 บาท
การสมัครใช้ PromptPay
สามารถสมัครได้ 3 ช่องทาง
- Mobile Banking
- ตู้ ATM
- ธนาคารที่ให้บริการ PromptPay
ส่วนขั้นตอนการสมัครก็มีดังนี้
- กรอกหมายเลขบัตร ATM และรหัส
- ตรวจสอบข้อมูลที่ผูกไว้กับบัตร เลือกว่าจะผูกบัญชีกับเลขโทรศัพท์หรือเลขบัตรประชาชน
- ยืนยันการทำรายการ
หลายคนอาจกังวลว่า PromptPay มีความปลอดภัยดีหรือไม่ เพราะเป็นการผูกหมายเลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรศัพท์ไว้กับบัญชีเงินฝาก เกรงว่าคนอื่นอาจนำเงินออกจากบัญชีของเราได้เพียงรู้ข้อมูลเหล่านี้ คำตอบคือมีความปลอดภัย เพราะการจะโอนเงินออกจากบัญชีต้องใช้ข้อมูลอื่นๆ ประกอบ เช่น Username รหัสผ่านกรณีที่ทำรายการผ่าน Mobile Banking หรือต้องมีบัตร ATM เมื่อทำรายการผ่านตู้ ATM
บทความแนะนำ
- สังคมไร้เงินสด (Cashless Society) คืออะไร?
- Internet Banking และ Mobile Banking คืออะไร?
- บัตรเครติต และ บัตรกดเงินสด คืออะไร?
- PromptPay (พร้อมต์เพย์) คืออะไร?
- e-Wallet (กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์) คืออะไร?
- การชำระเงินด้วย QR Code (QR Payment) คืออะไร?
- สินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) คืออะไร?