สำหรับผู้ที่มีรายได้น้อย เงินไม่พอใช้จ่ายในแต่ละเดือน บางคนอาจยังไม่รู้ว่ารัฐบาลได้มีโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยทำให้สามารถนำมาใช้จ่ายค่าอุปโภคบริโภคต่างๆ ได้ เช่น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าเดินทาง เป็นต้น เพียงต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์และลงทะเบียนเป็นผู้มีรายได้น้อยเท่านั้นก็จะได้สิทธิประโยชน์ต่างๆ จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ คืออะไร?
บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือที่เรียกว่า บัตรคนจน คือบัตรที่รัฐบาลปัจจุบันมอบให้ผู้ที่มีรายได้น้อย ที่ได้ทำการลงทะเบียนและมีผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่จะได้รับสิทธิ์ โดยเป็นบัตรที่ทำร่วมกับธนาคารกรุงไทย ผู้ถือบัตรสามารถเบิกเงินช่วยเหลือเพื่อแบ่งเบาค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่าเดินทาง ค่าก๊าซหุงต้ม เป็นต้น
สิทธิประโยชน์จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
สิทธิประโยชน์จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่มที่ 1 คือผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้รับสิทธิ์ดังนี้
- วงเงินซื้อสินค้า 300 บาทต่อเดือน
โดยต้องเป็นสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อการเกษตรกรรม
- ค่าเดินทาง
- ค่ารถเมล์-รถไฟฟ้า 500 บาท ต่อเดือน
- ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาท ต่อเดือน
- ค่ารถไฟ 500 บาทต่อเดือน
- ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อคน ต่อ 3 เดือน
กลุ่มที่ 2 คือ ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี ได้รับสิทธิ์ดังนี้
- วงเงินซื้อสินค้า 200 บาทต่อเดือน
โดยต้องเป็นสินค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐ หรือร้านค้าอื่นๆ ที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด สินค้าดังกล่าวต้องเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการอุปโภคบริโภค สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อการเกษตรกรรมสิทธิ์ที่ 2
- ค่าเดินทาง
- ค่ารถเมล์-รถไฟฟ้า 500 บาท ต่อเดือน
- ค่ารถโดยสาร บขส. 500 บาท ต่อเดือน
- ค่ารถไฟ 500 บาทต่อเดือน
- ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาทต่อคน ต่อ 3 เดือน
ผู้มีสิทธิลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
- สัญชาติไทย
- อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
- มีสถานะว่างงาน หรือ มีรายได้รวมต่อปีทั้งสิ้นไม่เกิน 100,000 บาท
- ไม่มีทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝากธนาคาร สลากออมสิน สลาก ธ.ก.ส. พันธบัตรรัฐบาล และตราสารหนี้ หรือถ้ามีทรัพย์สินทางการเงินดังกล่าว จะต้องมีจำนวนรวมทั้งสิ้น ไม่เกิน 100,000 บาท ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
- ไม่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามกฎหมาย
- ถ้าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ดังนี้
- ที่อยู่อาศัยแบบบ้านพร้อมที่ดินกรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว บ้านหรือทาวน์เฮาส์ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา
- ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร
- กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่
- กรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่
- กรณีที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่
การลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
การลงทะเบียนแบบใช้แบบฟอร์มจากธนาคารที่ธนาคาร
- นำบัตรประชาชนไปลงทะเบียนที่ธนาคาร โดยยื่นบัตรประชาชนให้เจ้าหน้าที่
- ได้รับแบบฟอร์มจากเจ้าหน้าที่ ให้กรอกแบบฟอร์มพร้อมลงลายมือชื่อให้เรียบร้อย
- เจ้าหน้าที่มอบหางตั๋วให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
การลงทะเบียนแบบพิมพ์แบบฟอร์มออกมาเอง
- ดาวน์โหลดแบบฟอร์มลงทะเบียนจากเว็บไซต์กระทรวงการคลัง, ธนาคาร ธกส., ธนาคารออมสิน หรือ ธนาคารกรุงไทย
- ปรินท์แบบฟอร์ม กรอกแบบฟอร์มลงทะเบียนและลงลายมือชื่อ
- นำแบบฟอร์มลงทะเบียนและบัตรประชาชนไปที่ธนาคาร
- เจ้าหน้าที่มอบหางตั๋วให้เก็บไว้เป็นหลักฐาน
สามารถตรวจสอบผลการลงทะเบียนได้ที่เว็บไซต์ http://welfare2560.epayment.go.th/ โดยกรอกเลขบัตรประชาน เพื่อดูว่ามีรายชื่ออยู่ในระบบแล้วหรือไม่
โดยส่วนใหญ่แล้ว เงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะไม่สามารถถอนออกมาใช้จ่ายได้ เพื่อที่จะได้กำจัดการใช้จ่ายเฉพาะกับสิ่งที่กำหนดมาเท่านั้น แต่ก็มีบางวงเงินที่สามารถกดออกมาได้ เช่น เงินค่าใช้จ่ายปลายปี 500 บาท ที่สามารถรับได้ครั้งเดียว ซึ่งเงินจากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นเงินที่ช่วยเหลือแบ่งเบาภาระของผู้มีรายได้น้อย ดังนั้นถ้าวางแผนการใช้จ่ายให้ดี เงินช่วยเหลือจากรัฐก็จะช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายได้มากทีเดียว
บทความแนะนำ
- ประกันสังคม สิทธิประโยชน์ที่มนุษย์เงินเดือนและผู้มีรายได้ควรรู้
- กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) คืออะไร? สิทธิประโยชน์ที่มนุษย์เงินเดือนควรรู้
- เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ สิทธิประโยชน์ที่คนวัยหลังเกษียณควรรู้
- บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรคนจน คืออะไร? สิทธิประโยชน์ที่คนที่มีรายได้น้อยควรรู้