ภาวะเงินฝืด (Deflation) เป็นภาวะทางเศรษฐกิจที่อยู่ตรงข้ามกันกับภาวะเงินเฟ้อ (Inflation) กล่าวคือถ้าภาวะเงินเฟ้อคือระดับราคาสินค้าและบริการสูงขึ้น ภาวะเงินฝืดก็คือระดับราคาสินค้าและบริการต่ำลง แต่กำลังซื้อของประชาชนแต่ละกลุ่มก็ไม่เหมือนกัน เพราะได้รับผลกระทบแตกต่างกันไป ไปทำความเข้าใจกันดีกว่าว่าเงินฝืดคืออะไร ผลกระทบและวิธีการแก้ไขมีอย่างไรบ้าง (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเงินเฟ้อ)
ภาวะเงินฝืดคืออะไร?
เงินฝืด (Deflation) คือ การที่ระดับราคาสินค้าและบริการภายในประเทศลดลง เนื่องจากค่าของเงินสูงขึ้น เพราะปริมาณเงินในมือประชาชนมีน้อย ไม่เพียงพอต่อการซื้อสินค้าและบริการ ทำให้อุปสงค์รวมน้อยลงไปด้วย ผู้ผลิตจึงต้องลดการผลิต และลดราคาสินค้าให้ขายได้ เป็นภาวะที่อยู่ตรงข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ
สาเหตุของภาวะเงินฝืด
- ความต้องการซื้อสินค้าและบริการมีน้อยกว่าความต้องการในการขาย
- รัฐบาลเก็บภาษีมากเกินไป หรือขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินกู้มากเกินไป ทำให้ประชาชนมีเงินในมือน้อยลง
- เงินทุนไหลออกนอกประเทศมากเกินไป เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น
- การเมืองไม่มั่นคง ทำให้นักลงทุนไม่กล้าเสี่ยงลงทุนในประเทศ
- อัตราดอกเบี้ยของค่าเงินต่างประเทศสูงขึ้น
ผลกระทบของเงินฝืด
- ผู้บริโภคจะซื้อสินค้าและบริการได้ในราคาถูกลง
- ผู้ผลิตอาจประสบปัญหาขาดทุน เพราะราคาสินค้าลดลง
- อัตราการว่างงานสูงขึ้น เนื่องจากการผลิตลดลง กำไรและยอดขายลดลง การจ้างงานจึงลดน้อยลงตามไปด้วย รวมถึงผู้ประกอบการมีแนวโน้มลดจำนวนพนักงานหรือเลิกจ้างมากขึ้น
- พนักงานประจำในบริษัทเอกชนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากเงินฝืด พนักงานราชการ จะได้ผลประโยชน์มาก เพราะเงินเดือนเท่าเดิม แต่จับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น
- ธนาคาร เจ้าหนี้ จะได้รับผลเสีย เพราะจะได้รับชำระหนี้ในจำนวนเท่าเดิม แม้ค่าเงินสูงขึ้น
- ผู้ผลิตสินค้าที่ไม่ใช่ปัจจัยสี่ เช่น กระเป๋าแบรนด์เนม จะขายได้ยากในภาวะเงินฝืด
การแก้ไขและควบคุมเงินฝืด
- ใช้นโยบายการเงิน คือ เพิ่มปริมาณเงินในมือประชาชนให้มากขึ้น โดยเพิ่มการรับซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากประชาชน ขยายวงเงินเครดิตและวงเงินสินเชื่อ ลดอัตราภาษี
- ใช้นโยบายการคลังคือ เพิ่มรายจ่ายของภาครัฐ โดยเพิ่มการลงทุน เช่น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อย่างรถไฟฟ้า เป็นต้น ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ภาวะเงินฝืดมีข้อดีสำหรับคนที่มีเงินออม พนักงานประจำ และพนักงานข้าราชการ เพราะได้รับผลกระทบน้อย และสามารถใช้จ่ายได้มากขึ้นเมื่อเกิดเงินฝืด ขณะที่ผู้ประกอบการ ผู้ผลิต จะได้รับผลกระทบมาก แต่ไม่ว่าจะภาวะเงินฝืดหรือเงินเฟ้อ ก็ควรศึกษาวิธีกระจายความเสี่ยงทางการเงินเอาไว้ เพื่อไม่ให้เกิดความขัดสนทางการเงินในภายภาคหน้า
บทความแนะนำ
- วิธีการออมเงินสำหรับมนุษย์เงินเดือน เก็บเงินแสนได้ไม่ยาก!
- วิธีการลงทุนและหารายได้เสริมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่สามารถทำได้จริง!
- รายได้แบบ Active Income และ Passive Income คืออะไร?
- เงินเดือนไม่พอใช้ หมุนเงินไม่ทัน เป็นหนี้เยอะ ทำอย่างไรดี?
- อยากลงทุนระยะสั้น ได้ผลตอบแทนดีๆ…เลือกลงทุนอะไรดี?
- อยากลงทุนระยะยาว ได้ผลตอบแทนดีๆ…เลือกลงทุนอะไรดี?