ติวเตอร์ (Tutor) เป็นอาชีพที่มีมานาน ทั้งการทำเป็นอาชีพ และทำเพื่อหารายได้เสริม ปัจจุบันการเป็นติวเตอร์ง่ายขึ้นมาก เพราะสามารถทำการสอนผ่านทางออนไลน์ได้เลย ทั้งแบบสอนสด หรือ อัดคลิปวิดีโอไว้เผยแพร่ ขึ้นอยู่กับความต้องการและความถนัดของติวเตอร์
ช่องทางการขายคอร์สติวเตอร์ออนไลน์
1 .E-Learning Marketplace
แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่ถนัดทำเว็บไซต์ของตนเอง โดยส่วนใหญ่จะมีทีมงานให้คำปรึกษาในการทำคอร์สออนไลน์ มีระบบจัดการที่ครบครัน เพียงแต่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดการ ยกตัวอย่างเช่น SkillLane, Talad Punya, และ TutorMe by Mono
2. E-Learning Management System
ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปสำหรับทำเว็บ E-Learning ที่ทำให้สร้างเว็บไซต์สำหรับการสอนออนไลน์ได้โดยไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการเขียนโค้ดมาก่อน ยกตัวอย่างซอฟต์แวร์ Teachable ที่มีระบบชำระเงินผ่านบัตรเครดิตได้เลย หรือถ้าอยากมีโดเมนส่วนตัวก็สามารถจ่ายค่าเช่าระบบเพิ่มเติมได้
3. มีเว็บไซต์ของตนเอง
แนะนำให้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับสร้างและจัดการเว็บไซต์อย่าง WordPress เพราะไม่จำเป็นต้องรู้เรื่องการเขียนโค้ดมาก่อนก็ทำเว็บได้ และที่สำคัญยังเป็นมิตรกับ SEO ที่จะทำให้เว็บไซต์ติดอันดับแรกๆ ของ Search Engine ได้ง่ายอีกด้วย โดย WordPress มีปลั๊กอินหลายอย่างทำให้ปรับแต่งหน้าเว็บได้ตามใจชอบ
ข้อควรรู้สำหรับคนที่อยากเป็นติวเตอร์ออนไลน์
1. เข้าใจในสิ่งที่จะสอน
คนเป็นติวเตอร์ต้องมีความรู้มากกว่าคนที่มาเรียน 2-3 เท่า เพื่อที่จะได้ตอบคำถามที่เป็นรายละเอียดยิบย่อยได้ถูก และต้องเตรียมความรู้ให้พร้อมตลอดเวลา
2. กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนแต่ละช่วงวัยชอบรูปแบบการสอนที่แตกต่างกันไป เช่น ประถม อาจใช้สื่อการสอนที่มีการ์ตูนหรือการเล่าเรื่องสนุกๆ เข้ามาประกอบ มัธยมกับมหาวิทยาลัยก็จริงจึงขึ้นมาหน่อย ดังนั้นต้องวิเคราะห์ด้วยว่าตนเองเหมาะกับการสอนแบบไหน
3. รู้จักโปรโมต
ใช้โซเชียลมีเดียต่างๆ ให้เป็นประโยชน์ ทั้ง Facebook, Twitter รวมถึง Instagram เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนนักศึกษามากขึ้น รวมถึงลงโปรโมตในเว็บไซต์เกี่ยวกับการสอนพิเศษ เพราะผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์จะเป็นผู้ที่สนใจคอร์สเรียนออนไลน์อยู่แล้ว
4. คอนเน็คชั่นก็สำคัญ
อาจเริ่มต้นจากคนใกล้ชิดที่มีลูกหลานและต้องการเรียนพิเศษ หรืออาจเป็นคนรู้จักที่สอนออนไลน์เหมือนกันให้เขาช่วยโปรโมตให้ ก็จะดูน่าสนใจและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยหลังจากนั้นขึ้นอยู่กับการวางตัวและความสามารถในการสอนของเรานั่นเอง
การเป็นติวเตอร์ออนไลน์ก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างจากติวเตอร์ที่ทำการเรียนการสอนต่อหน้าผู้เรียน ดังนั้นควรใส่ใจผู้เรียนให้ได้มากที่สุด เช่น ถ้าเป็นการสอนแบบอัดวิดีโอ ควรคิดให้ละเอียดรอบคอบว่าผู้เรียนจะเกิดคำถามแบบไหน และอธิบายให้ชัดเจนภายในคลิปนั้น
บทความแนะนำ
- รายได้แบบ Active Income และ Passive Income คืออะไร?
- วิธีการลงทุนและหารายได้เสริมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่สามารถทำได้จริง!
- อยากเป็นอินฟลูเอนเซอร์ (Influencer) เริ่มต้นอย่างไรดี?
- อยากเป็นบล็อกเกอร์ (Blogger) เริ่มต้นอย่างไรดี?
- อยากเป็นยูทูบเบอร์ (YouTuber) เริ่มต้นอย่างไรดี?
- อยากเป็นนักแคสท์เกม (Game Caster) เริ่มต้นอย่างไรดี?
- อยากเป็นนักเขียนนิยาย (Novelist) เริ่มต้นอย่างไรดี?
- อยากเป็นนักวาดการ์ตูน (Cartoonist) เริ่มต้นอย่างไรดี?
- อยากขายภาพออนไลน์ (Stock Photo) เริ่มต้นอย่างไรดี?