การเสียภาษีเป็นสิ่งที่ผู้มีรายได้ต้องทำทุกปี ซึ่งก็มีวิธีมากมายในการลดหย่อนภาษี เพื่อช่วยเบาภาระในส่วนนี้ไป และสำหรับผู้ที่ต้องการลดหย่อนภาษี การลงทุนในกองทุนรวม SSF และ RMF เป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษา แต่ว่ากองทุนทั้ง 2 แบบก็มีจุดประสงค์ นโยบาย เงื่อนไขการลงทุน และผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้นนอกจากผลประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี เราต้องศึกษาและเลือกให้เหมาะกับความต้องการของตัวเองเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดในการลงทุน
SSF คืออะไร?
SSF ย่อมาจาก Super Saving Fund คือ กองทุนรวมเพื่อการออม เป็นกองทุนรวมที่ช่วยให้เกิดการออมในระยะยาวมากขึ้น โดยสามารถลงทุนได้ในหลักทรัพย์ทุกประเภทรวมไปถึงตราสารหนี้และกองทุนรวม ทำให้มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญคือสามารถนำเงินลงทุนใน SSF ไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 30% ของเงินได้แต่ไม่เกิน 200,000 บาท โดยไม่กำหนดอัตราขั้นต่ำในการซื้อไม่จำเป็นต้องซื้อต่อเนื่องทุกปี แต่ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อ
จุดเด่นของ SSF
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร คือสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ หากมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
- มีการปันผลอย่างน้อยปีละครั้ง หรืออาจจะมากกว่าปีละ 1 ครั้ง
- ลดความเสี่ยงในช่วงตลาดหุ้นผันผวน เพราะได้กำไรจากเงินปันผลก่อนหน้านี้อยู่แล้ว
- ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ปีไหนไม่อยากซื้อกองทุนก็ไม่ต้องซื้อได้
- ถือครองอย่างต่ำเป็นระยะ 7 ปีปฏิทิน จึงทำให้มีเงินเก็บเป็นก้อน
หมายเหตุ: กองทุน SSF (Super Saving Fund) เป็นกองทุนรวมเพื่อการออม ที่มาทดแทนกองทุน LTF (Long Term Equity Fund) ที่จะหมดสิทธิในการนำไปลดหย่อยภาษีเงินได้หลังจากปี 2562
RMF คืออะไร?
RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund คือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมเงินระยะยาวไว้ใช้สำหรับยามเกษียณ สามารถถอนเงินลงทุนได้เมื่ออายุ 55 ปี ลงทุนไม่ต่ำกว่า 5 ปี และเพราะเป็นการออมเงินเพื่อการเกษียณจึงไม่มีเงินปันผลเพราะเน้นเป็นเงินก้อน แต่นโยบายการลงทุนจะมีหลากหลายกว่า LTF เพราะมีการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ นอกจากหุ้นด้วย เช่น พันธบัตรรัฐบาล ทองคำ เป็นต้น โดยมีความเสี่ยงแตกต่างกันไปตั้งแต่ระดับต่ำไปจนถึงระดับสูง
จุดเด่นของ RMF
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร คือสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ หากมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
- สามารถเปลี่ยนกองทุนได้ตามสภาวะเศรษฐกิจ เช่น ถ้าอยากลดความเสี่ยง จากที่เคยลงทุนในหุ้นก็สามารถเปลี่ยนไปลงทุนในตลาดเงินได้
- เป็นกองทุนที่เน้นการลงทุนระยะยาว เน้นเก็บเงินเพื่อการเกษียณ โดยจะเริ่มซื้อที่อายุเท่าไหร่ก็ได้และถือกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี จนกระทั่งอายุ 55 ปีจึงมีสิทธิ์ขายกองทุนได้
- ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี โดยให้เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี เป็นการฝึกวินัยการออม
เลือกกองทุนแบบไหนดี?
LTF
- สนใจลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทต่าง ๆ
- รับความเสี่ยงได้มากกว่า
- ต้องการถือกองทุนในระยะเวลาที่สั้นกว่า RMF คือ 10 ปี
- ไม่ต้องการลงทุนสม่ำเสมอทุกปี
- เป็นผู้มีฐานภาษีต่ำไปจนถึงปานกลางเพราะกองทุน SSF ลดหย่อนภาษีได้สูงถึง 30% ของรายได้พึงประเมิน
RMF
- ต้องการออมเงินเพื่อการเกษียณ
- สามารถลงทุนได้สม่ำเสมอทุกปี
- สามารถถือกองทุนได้ถึงอายุ 55 ปี
- ต้องการความเสี่ยงที่ต่ำ
- ถ้าต้องการสิทธิลดหย่อนทางภาษีด้วยการซื้อกองทุนรวม RMF ต้องมีเงินเดือนถึง 25,833 บาท
จะเห็นได้ว่านอกจากผลประโยชน์เรื่องการลดหย่อนภาษีแล้ว ทั้ง SSF และ RMF ก็ให้ผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกได้ตามความต้องการของตนเอง ไม่ว่าผลประโยชน์ที่ต้องการ ความเสี่ยงที่รับได้ รวมถึงสถานะการเงินของตนเอง เพื่อให้การลงทุนเหมาะสมกับเรามากที่สุด
ข้อมูลเดิม
LTF คืออะไร?
LTF ย่อมาจาก Long Term Equity Fund คือ กองทุนรวมหุ้นระยะยาว เป็นกองทุนรวมที่เน้นลงทุนในหุ้นไม่ต่ำกว่า 65% ของกองทุน จึงเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงในการลงทุนค่อนข้างสูง กองทุน LTF มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นระยะยาว ทำให้ตลาดหุ้นมีสภาพคล่องและเสถียรภาพมากขึ้น ในปัจจุบัน หากจะขายกองทุน LTF ต้องมีการถือครองเป็นระยะ 7 ปีปฏิทิน คือ ดูจาก พ.ศ.ที่ทำการซื้อขายนั่นเอง
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2562 จะสามารถซื้อกองทุนรวม LTF และใช้ลดหย่อนภาษีได้เป็นปีสุดท้าย เนื่องจาก LTF สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้เกินกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งทางสภาธุรกิจตลาดกองทุนกำลังเตรียมรับมือ และศึกษาคิดค้นจัดตั้งกองทุนใหม่ที่มีความทันสมัย และตอบโจทย์คนรายได้น้อยและชนชั้นกลางมากขึ้นเพื่อมาทดแทนกองทุน LTF ผู้ลงทุนจึงต้องคอยจับตากองทุนใหม่ที่คาดว่าจะมาในปลายปีนี้ ส่วนคนที่ถือกองทุน LTF อยู่ในมือจะไม่มีผลกระทบอะไรกับการลงทุน นอกจากซื้อกองทุน LTF เพิ่มไม่ได้หลังปี พ.ศ. 2562
จุดเด่นของ LTF
- ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร คือสามารถนำไปใช้ลดหย่อนภาษีได้ หากมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด
- มีการปันผลอย่างน้อยปีละครั้ง หรืออาจจะมากกว่าปีละ 1 ครั้ง
- ลดความเสี่ยงในช่วงตลาดหุ้นผันผวน เพราะได้กำไรจากเงินปันผลก่อนหน้านี้อยู่แล้ว
- ไม่จำเป็นต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี ปีไหนไม่อยากซื้อกองทุนก็ไม่ต้องซื้อได้
- ถือครองอย่างต่ำเป็นระยะ 7 ปีปฏิทิน จึงทำให้มีเงินเก็บเป็นก้อน
เลือกกองทุนแบบไหนดี?
LTF
- สนใจลงทุนในหุ้น
- รับความเสี่ยงได้มากกว่า
- รับได้ถ้าบางปีไม่ได้รับเงินปันผล
- ต้องการถือกองทุนในระยะเวลาที่สั้นกว่า RMF คือ 7 ปี
- ไม่ต้องการลงทุนสม่ำเสมอทุกปี
- ถ้าต้องการสิทธิลดหย่อนทางภาษีด้วยการซื้อกองทุนรวม LTF ต้องมีเงินเดือนถึง 25,833 บาท
บทความแนะนำ
- รูปแบบการลงทุนและระดับความเสี่ยงในการลงทุน
- ประโยชน์ของการลงทุน และข้อควรระวังในการลงทุน
- กองทุนรวม (Mutual Fund) และ หุ้น (Stock) คืออะไร? แตกต่างกันอย่างไร?
- หุ้น (Stock) คืออะไร? มือใหม่จะเริ่มต้นเล่นหุ้นอย่างไรดี?
- ตราสารหนี้ (Bond) คืออะไร? มือใหม่จะเริ่มต้นลงทุนในตราสารหนี้อย่างไรดี?
- Forex คืออะไร? มือใหม่จะเริ่มต้นเทรด Forex อย่างไรดี?
- ลงทุนในทองคำ (Gold) มือใหม่จะเริ่มต้นลงทุน เก็งกำไรทองคำอย่างไรดี?
- DW (Derivative Warrants) คืออะไร? มือใหม่จะเริ่มต้นลงทุนอย่างไรดี?
- อยากลงทุนระยะสั้น ได้ผลตอบแทนดีๆ…เลือกลงทุนอะไรดี?
- อยากลงทุนระยะยาว ได้ผลตอบแทนดีๆ…เลือกลงทุนอะไรดี?
- วิธีการลงทุนและหารายได้เสริมสำหรับมนุษย์เงินเดือนที่สามารถทำได้จริง!